ประเทศตุรกี

ตุรกีมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันออกติดกับประเทศจอร์เจีย อาร์มีเนีย อาเซอร์ไบจาน และอิหร่าน มีพรมแดนทางด้านทิศใต้ติดกับอิรัก ซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับกรีซ บัลแกเรีย และทะเลอีเจียน ทางเหนือติดกับทะเลดำ ส่วนที่แยกอานาโตเลียและเทรซออกจากกันคือทะเลมาร์มาราและช่องแคบตุรกี(ได้แก่ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดะเนลส์) ซึ่งมักถือเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป จึงทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีดินแดนอยู่ในหลายทวีป

• เตรียมตัวท่องเที่ยวตุรกี วีซ่าตุรกี
• สำหรับชาวไทยที่จะเดินทางไปยังประเทศตุรกี จะต้องขอวีซ่าเข้าประเทศ (ยกเว้นผู้ที่ถือหนังสือเดินทางฑูตและหนังสือเดินทางราชการ)

 
• เอกสารที่ต้องเตรียมที่ใช้ยื่นวีซ่าตุรกี
1.หนังสือเดินทาง (passport) ที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน พร้อมทั้งถ่ายเอกสารสำเนาหน้าแรก
2.จดหมายรับรองการทำงานเป็นภาษาอังกฤษ ระบุชื่อ ตำแหน่ง วันเริ่มต้นทำงานจนถึงปัจจุบัน และระบุวันและเวลาไปกลับให้ตรงตามตั๋วเครื่องบิน
3.ใบจองตั๋วเครื่องบินไปกลับ และใบจองที่พัก(ในกรณีไม่มีจดหมายเชิญ)
4.รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 ใบ 4.กรณีไปประชุมหรือธุรกิจ ต้องมีใบเชิญตัวจริงจากทางบริษัทหรือองค์กรของตุรกี กรณีเชิญส่วนบุคคล ต้องมีจดหมายเชิญตัวจริงจาก Noteri เท่านั้น (ไม่รับแบบสแกนหรือแฟกซ์ไม่ว่ากรณีใดๆก้อตาม)
5.กรอกแบบฟอร์มให้ครบ พร้อมติดรูปถ่าย 2 นิ้ว 1 รูป ( download แบบฟอร์มได้ที่ http://www.mfa.gov.tr ฟอร์มวีซ่าจะอยู่ในช่องที่เขียนว่า Consular info )
6.ค่าธรรมเนียมแบบเดินทางเข้า-ออกครั้งเดียว (single) 1,066 บาท และเดินทางเข้า-ออกหลายครั้ง (multiple) 3,567 บาท (กรุณาเตรียมเงินให้พอดี)
7.ใส่เอกสารทั้งหมดมาในแฟ้ม A4 พร้อมติดชื่อภาษาอังกฤษให้เรียบร้อย
• ภายหลังการยื่นเอกสารขอวีซ่าและได้รับการอนุมัติแล้ว จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 5 วันทำการ /สามารถรับวีซ่าตามวันที่ระบุในใบนัด โดยไม่จำเป็นต้องโทรสอบถาม
• รายละเอียดการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางไทย (Visa)

หนังสือเดินทางทูตและราชการ-สามารถยกเว้นการตรวจลงตรา ระยะพำนัก 90 วัน
หนังสือเดินทางธรรมดา-ต้องผ่านการตรวจลงตรา ณ สถานเอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย

 

 

• สำหรับหนังสือเดินทางไทย สามารถยื่นคำร้องได้ที่
สถานเอกอัครราชฑูตตุรกีประจำประเทศไทย (Embassy of the Republic of Turkey)
66/1 ซ.จัดสรร ถนนสุทธิสาร ห้วยขวาง กรุงเทพ ฯ 10310
โทรศัพท์. 02-2747262-3 แฟกซ์ 02-274-7261
อีเมล์ : tcturkbe.cscoms.com
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
• การเดินทางมายังสถานฑูตตุรกี มาจากทางแยก อ.ส.ม.ท. ให้ตรงมาเรื่อยๆบนถนนรัชดาผ่านแยกห้วยขวางเมื่อมาถึงแยกสุทธิสาร ให้เลี้ยวขวามาประมาณ 1 กม.กว่าๆ จะเห็นซอยอยู่ทางขวามือชื่อซอยจัดสรร เลี้ยวขวาเข้าไปสุดแล้วเลี้ยวซ้าย ผ่านไปประมาณ 3-4 ประตูจะเห็นมีป้อมยามอยู่ทางซ้ายมือ แจ้ง รปภ. ว่าจะมาทำวีซ่าแล้วเขาก็จะขอบัตรประชาชนเรา
ถ้าสะดวกทางรถไฟใต้ดินก็ลงสถานีสุทธิสาร ออกทางออกที่ 3 แล้วต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปสถานฑูตตุรกี
• หน่วยงานของไทยในตุรกี

• สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา ประเทศตุรกี (Royal Thai Embassy)

Cankaya Cad. Kader Sok. 45/3-4
06700 Gaziosmanpasa,
Ankara, Republic of Turkey
Tel. (90 312) 437 4318 / 437 5248
Fax (90 312) 437 8459
E-mail : thaiank@ttmail.com

 
• สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครอิสตันบูล (Thai Trade Centre)
Ayanoglu Ishani,
Mete Cad. No. 20/3
Taksim 80090, Istanbul
Tel (90 212) 292-0910-11
Fax (90 212) 292-0912
E-mail: ttcist@turk.net

 
• สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำนครอิสตันบูล (Royal Thai Consulate-General) No. 90 Dersan Han,
Gummsuyu, Taksim, Istanbul, Turkey
Tel. (90 212) 292 8651-52, 292 8366
Fax (90 212) 292 9770 249 4309

E-mail: mhayrie@escortnet.com

 

 

• การเข้าเมือง
1.ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยสามารถพำนักอยู่ที่ประเทศตุรกีได้ไม่เกิน 90 วัน
2.สำหรับนักเรียนหรือผู้ที่มาทำงาน ขอวีซ่าเพื่ออยู่ที่ประเทศตุรกีได้ครั้งละ 1 ปี
3.ส่วนผู้ที่ถือหนังสือเดินทางฑูตและราชการไม่ต้องขอวีซ่า สามารถพำนักอยู่ได้ 90 วัน

• ศุลกากร : สินค้าปลอดภาษีสามารถซื้อ และนำเข้า-ออก จากสนามบินนานาชาติตุรกีได้ตามจำนวนที่สมเหตุสมผล ห้ามซื้อหรือขายหรือส่งออกวัตถุโบราณอายุตั้งแต่ 200 ปีขึ้นไป

 

• ตุรกี : สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในตุรกี
1.ในการรับเลี้ยงอาหารจากชาวท้องถิ่น ให้ตักอาหารจากจานที่ใกล้ตัวที่สุดถ้าเป็นจานรวม
2.รับประทานอาหารให้หมดจานเสมอ ชาวตุรกีถือว่าการทานอาหารไม่หมดเหมือนดูถูกผู้ปรุง
3.กล่าวคำว่า เอเลนิเซ ซาคลึก (ขอให้มือของคุณแข็งแรง) เพื่อขอบคุณเจ้าภาพสำหรับการปรุงอาหาร
4.ตรวจสอบสภาพอากาศและดูสถานที่ที่ต้องไปก่อนเดินทาง เพื่อเตรียมเครื่องแต่งกายให้เหมาะสม อย่างเช่น ถ้าต้องเข้า
5. สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างมัสยิดก็ต้องแต่งกายมิดชิด ขึ้นบนเขาสูงควรเตรียมแจ็คเกตกันหนาวไปด้วย หรือไปเที่ยวเมืองน้ำแร่ร้อนอย่างที่ปามุคคาเลก็นำชุดว่ายน้ำไปใส่แช่น้ำแร่
6.แสงแดดที่ตุรกีเจิดจ้าไม่น้อย ควรนำหมวกปีกกว้างไปด้วย และนำร่มพกพาติดตัวไปสักคันก็ดี นอกจากจะกันแดดแล้ว ยังใช้กันฝนที่อาจจะตกเป็นบางเวลา
7.เพื่อความสะดวกไร้กังวลในการช้อปปิ้งอย่าลืมพกบัตรเครดิตกสิกรไทย และก่อนออกเดินทางจากเมืิองไทย อย่าลืมเตรียมขอเพิ่มวงเงินฉุกเฉินชั่วคราวจากบัตรเครดิตกสิกรไทย ติดต่อที่ 02 888 8888
8.ตุรกีเป็นเมืองที่มีความทันสมัย และผู้คนมีทัศนคติเปิดกว้างคล้ายกับประเทศยุโรป แต่ความที่เป็นประเทศมุสลิมจึงอาจต้องระมัดระวังในบางเรื่องโดยเฉพาะเรื่อง อาหารการกินและการแต่งกายเข้ามัสยิด
9. ในการรับเลี้ยงอาหารจากชาวท้องถิ่น ไม่ควรรับประทานจากจานที่อยู่ทางซ้ายมือโดยตรง
10.ที่โต๊ะเลี้ยงอาหาร ไม่ควรนั่งติดกับคนต่างเพศ นอกจากเจ้าภาพจะจัดให้
11.ไม่ควรดื่มน้ำก๊อก เพราะน้ำประปาในตุรกีผสมคลอรีนในปริมาณมาก อาจเป็นอันตรายได้ ควรดื่มน้ำดื่มที่ขายเป็นขวด ก่อนเข้าพักในโรงแรมให้ซื้อน้ำดื่มเข้าไปด้วย เพราะตามโรงแรมไม่มีน้ำดื่มฟรีให้ และราคาค่าน้ำสูงกว่าข้างนอกเป็นเท่าตัว
12.เมื่อ เข้าไปในสถานที่สำคัญ ทั้งมัสยิด พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ ไม่ควรจับต้องสิ่งใดทั้งสิ้น ส่วนใหญ่สถานที่เหล่านี้มักจะให้สวมถุงพลาสติกครอบรองเท้าอีกชั้นเพื่อรักษา พื้นไม้ไม่ให้สึกหรอ และบางที่อาจมีพรมลาดไว้เพื่อให้เดินบนพรม ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อย่าฝ่าฝืนกฎใดๆ ก็ตามที่กำหนดไว้
13.ห้าม นำโบราณวัตถุออกนอกประเทศตุรกีอย่างเด็ดขาด ในกรณีที่ซื้อพรมมา จะต้องขอหนังสือรับรองจากทางพิพิธภัณฑ์เพื่อยืนยันว่าพรมนั้นไม่ใช่ของเก่า
14.ระมัดระวังห้ามนำเข้ายาเสพติด ไข่ของหม่อนไหม ดินและพืชพันธุ์เพื่อการเกษตรเครื่องเล่มเกมส์ต่าง ๆ วัสดุที่ห่อหรือปิดป้ายปลอม ฯลฯ

 

 

travel guide turkey 2 travel guide turkey 3 travel guide turkey 4 travel guide turkey 5

 

 

• ตุรกี : เกร็ดความรู้เกี่ยวกับตุรกี

1.การแต่งกาย แต่งกายตามสภาพอากาศ ควรเตรียมร่มไปในฤดูหนาว เตรียมแว่นกันแดดและหมวดไปในฤดู

ร้อน การเข้าชมสุเหร่าสำหรับสตรีควรนุ่งห่มเสื้อผ้ามิดชิด ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปิดขาและแขน ควรเตรียมผ้าคลุม

ศีรษะไปด้วย ส่วนผู้ชายควรหลีกเลี่ยงการนุ่งกางเกงขาสั้น

 

2.การบริการรับค่าทิปทุกแห่ง จ่ายเป็นเงินยูโรหรือเงินดอลลาร์ได้ โรงแรมและร้านอาหารจ่าย 10 – 5

เปอร์เซ็นต์ของใบเสร็จ ยกเว้นร้านอาหารริมทางที่ราคาถูก ไม่ต้องจ่ายทิป

 

3.อย่าพลาดการลองเคบับ (kebap) เป็นอาหารตุรกีขนานแท้และดั้งเดิม ที่มีต้นกำเนิดจากอาหารของชนเผ่าเติร์กเมื่อกว่าพันปีมาแล้ว เป็นการปรุงโดยนำเนื้อมาต้ม อบ ย่าง เช่น “ชีชเคบาบึ” จะมีพริกหวาน มะเขือเทศ และหอมหัวใหญ่หั่นเป็นชิ้นผสมรวมกับเนื้อชิ้นเล็กๆ นำไปเสียบกับชีช (เหล็กเสียบ) และนำไปย่างบนตะแกรง “กุเว็ช” คือเนื้ออบในหม้อพร้อมผักสด “ทานดึร์เคบาบึ” เป็นอาหารพื้นเมืองของคอนยา เป็นการนำลูกแกะอบทั้งตัวในเตาอบที่สร้างด้วยอิฐ ร้านเคบับที่ขึ้นชื่อของกรุงอิสตันบูลคือ Kebap House (Tel. (212) 241 24 60)
4.การไปเยือนอิสตัลบูล เพื่อให้ได้บรรยากาศตุรกีจริง ต้องแวะเที่ยวสไปซ์ มาร์เกตหรือตลาดเครื่องเทศ นอกจากมีเครื่องเทศขายมากมายแล้ว ยังมีสินค้าของฝากที่คนไทยนิยมซื้อติดมือกลีบเมืองไทยกันมากก็คือ ชาแอปเปิ้ลอันขึ้นชื่อของตุรกี, เตอร์กิซ ดีไลท์ ขนมหวานสไตล์ตุรกีที่โด่งดังไปไกล, ดวงตาสีฟ้า (Evil Eyes) เครื่องรางปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายตามความเชื่อของชาวตุรกี ที่ปัจจุบันเป็นของฝากขั้นดีราคาเยา นอกจากนี้สไปซ์ มาร์เกต ก็ยังมีสินค้าอื่นๆ อีกมากมาย คล้ายๆ กับที่แกรนด์บาร์ซาร์ เพียงแต่ว่าราคาถูกกว่า
5.นักท่องเที่ยวอาจพบว่ามีคนพื้นเมืองชาวตุรกี เดินตามนักท่องเที่ยวที่เป็นคนเอเซีย พร้อมทั้งส่งเสียงแซวว่า “ชินชิน ชิปปอน ชิปปอน” เพราะคนหน้าที่เอเชียที่ไปเที่ยวตุรกีส่วนใหญ่เป็นคนจีนและญี่ปุ่น อาจจะก่อความรำคาญบ้างเล็กน้อย สำหรับชาวตุรกีเมื่อรู้จักกันเป็นการส่วนตัว คนตุรกีมักใจกว้างและมีน้ำใจ คนตุรกีมีความสนใจในด้านการเมืองมากด้วย

travel guide turkey 6 travel guide turkey 7

บทความอื่นๆ