ประเทศภูฏาน

ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า “ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)” นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า “แผ่นดินบนที่สูง” (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน) ในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานจะพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ต่อมาก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453
travel guide bhutan 2

 

ไม่นานมานี้ ประเทศเล็กๆ อันเงียบสงบอย่าง “ภูฏาน” ในอาณาจักรหิมาลัย ดินแดนแห่งพุทธศาสนาที่คงความเป็นเอกลักษณ์พิเศษนี้มีเสน่ห์มากมายที่น่าค้นหา กลายมาเป็นจุดหมายปลายทางของใครหลายคนทั้งคนไทยเอง และชาวต่างชาติประเทศอื่นๆ มากมาย วันนี้เราจะพาไปดูข้อควรรู้ต่างๆ สำหรับคนที่อยากไปสัมผัสภูฏาน จะได้เตรียมตัวกันก่อนว่า ควรทำตัวอะไร ต้องเตรียมอะไรไปบ้างค่ะ รู้จักภูฏาน

ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศภูฎาน คือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) ส่วนประเทศภูฏานนั้นมีสมญาว่า “ดินแดนของมังกรสายฟ้า” (Druk Tsendhen) หรือ “Land of the Thunder Dragon” เนื่องจากชื่อภูฏานในภาษาถิ่นคือ Druk Yul (ออกเสียงว่า ดรุก-อือ) แปลว่า “ดินแดนของมังกร” นั่นเองค่ะ เสน่ห์ของภูฏานนั้นคือ ความเป็นเมืองพุทธศาสนาบนเทือกเขาหิมาลัย ที่มีธรรมชาติสวยงามบริสุทธิ์ และมีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่มากนักที่เดินทางไปภูฏานได้ เนื่องจากที่ตั้งของประเทศยากแก่การเข้าถึง และ

นโยบายของรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้นักท่องเที่ยวเข้าไปในประเทศของตนมากเกินไป จึงจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าภูฏานเอาไว้ไม่ให้เกินประมาณปีละ 20,000 คนค่ะ

 

การเตรียมตัวก่อนไปเที่ยวภูฏาน
travel guide bhutan 3

เส้นทางท่องเที่ยวของภูฏานมักจะเป็นเขาสูง เพราะฉะนั้นอาจทำให้เกิด “โรคแพ้ความกดดันอากาศในที่สูง” ได้ค่ะ ความสูงโดยเฉลี่ยในเส้นทางท่องเที่ยวจะอยู่ที่ 2,300 เมตร แต่ถ้าเป็นเส้นทางเดินเท้าท่องชมธรรมชาติอาจจะสูงได้ถึง 5,400 เมตรเลยทีเดียว การเมาความสูงจึงอาจเป็นปัญหารุนแรงสำหรับนักท่องเที่ยวบางคนค่ะ ถ้าเริ่มมีอาการปวดศีรษะ ไอ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร มีปัญหาปัสสาวะติดขัด ให้ลงมายังบริเวณที่ต่ำทันที และการเมาความสูงอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้จึงต้องระมัดระวังให้มาก แต่มัคคุเทศก์นำทางนักท่องเที่ยวก็ได้รับการฝึกอบรมทางด้านนี้มาเป็นอย่างดีไม่ต้องกังวลมากค่ะ

 

วิธีแก้ไขในเบื้องต้นก็คือ เวลาขึ้นสู่ที่สูงร่างกายจะเกิดภาวะสูญเสียน้ำ ควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ถ้าเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูงก็ต้องไปปรึกษาแพทย์ให้เรียบร้อยก่อนเดินทางมายังภูฏาน ส่วนอาการนอนไม่หลับเนื่องมาจากการขึ้นมาอยู่บนที่สูงนั้น สามารถใช้ยานอนหลับอ่อนๆ ช่วยได้ และไม่ควรแตะต้องเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ค่ะ

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเดินทางสู่ภูฏาน

travel guide bhutan 4

 

ฤดูใบไม้ผลิ

ฤดูใบไม้ผลิเป็นช่วงเวลาที่นักเดินทางนิยมเดินทางมาภูฏาน ช่วงปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคมเป็นช่วงที่ดอกไม้บานอีกด้วยค่ะ

มีนาคม – พฤษภาคม :

– Gomkora (เทศกาลใน Trashigang)

– ดอก Jakaranda บาน ณ Punakha Dzong กลางเดือนพฤษภาคม

– Jomolhari Trek & Drukpath Trek กลางเดือนเมษายน – กลางเดือนพฤษภาคม

– เทศกาล Paro Tshechu จะจัดขึ้นช่วงต้นเดือนเมษายน นี่เป็นโอกาสดีที่จะได้พบเจอกับกษัตริย์ภูฏาน เพราะท่านจะมางานเทศกาลบ่อยครั้ง

– งานเทศกาล Paro Tshechu 5 วันนี้เป็นที่นิยมอย่างมาก โรงแรมหลายแห่งจะจองเต็มล่วงหน้าและตั๋วเครื่องบินส่วนใหญ่จะจองเต็มตั้งแต่เดือนมกราคม

 

ฤดูร้อน

ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมที่สูง และอากาศที่หนาวเย็นของฤดูหนาว สามารถเดินทางมายังภูฏานช่วงต้นเดือนมิถุนายน และถ้าโชคดี ลมมรสุมมาช้ากว่าที่เคย ตลอดเดือนมิถุนายนจะเป็นช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมมากสำหรับการท่องเที่ยวค่ะ ลมมรสุมจะอยู่ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน มักจะพบว่าฝนจะตกไม่บ่อย ประมาณทุก 2-3 วัน แต่สำหรับพื้นที่เขตนอกเมือง เช่น เมืองกังเตย์ (Gangtey) ท้องถนนอาจเต็มไปด้วยโคลน ในฤดูร้อนบรรยากาศจะดีมีป่าเขียวขจี และนาข้าวที่พลิ้วไหว พร้อมด้วยฉากหลังของท้องฟ้าสีสันสดใสหลังฝนตก

 

มิถุนายน – สิงหาคม :

– เทศกาลนิมาลุงเซชู (Nimalung Tshechu) ในเดือนมิถุนายน

– เคอร์จีเซชู (Kurjey Tshechu) ในช่วงท้ายของเดือนมิถุนายนจะทำการฉลองสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของ กูรู รินโปเช ทุกสถานที่

 

ฤดูใบไม้ร่วง

ฤดูใบไม้ร่วงเป็นอีกหนึ่งฤดูที่ได้รับความนิยมค่ะ และเป็นฤดูของภูฏานที่มีผู้คนคับคั่ง แม้ว่าภูฏานไม่ได้มีป่าสีน้ำตาลหรือต้นเมเปิ้ล แต่สภาพอากาศที่อบอุ่นในฤดูใบไม้ร่วงทำให้เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว และเทศกาลทิมพูมักจะจัดขึ้นในปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือนตุลาคมอีกด้วย

กันยายน-พฤศจิกายน :

– เทศกาลนกกระเรียนคอดำ (Black-Necked Crane Festival) เข้าพักกับชาวบ้านในท้องถิ่นที่หุบเขาผอบจิกะ (Phobjikha) อันสวยงาม และสัมผัสกับเทศกาลนกกระเรียนคอดำ จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาธรรมชาติเอาไว้

– เดือนตุลาคมตุลาคม เป็นช่วงที่บรรยากาศของหุบเขาที่กลายเป็นสีทอง บ่งบอกว่าชาวนากำลังเตรียมพร้อมการเก็บเกี่ยวข้าว

– ช่วงท้ายของเดือนกันยายน งานเทศกาลทิมพูเป็นงานใหญ่ในเมืองหลวงที่ทันสมัยของภูฏาน เช่นเดียวกับงานเทศกาลพาโร งานเทศกาลทิมพูจัดขึ้นเวลาเดียวกับเทศกาลระบำหน้ากาก (Wangdi tshechu) เป็นโอกาสอันดีที่จะได้เข้าชมพร้อมกัน 2 งาน ระมัดระวังในการท่องเที่ยวเนื่องจากช่วงนี้จะมีผู้คนเยอะมากค่ะ

– เทศกาล Jambay Lhakhang Drup และ Prakar Tshechu เมืองจาการ์ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับ สวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย งาน Jambay เป็นงานรอบกองไฟของเต้นสวมหน้ากาก 20 คน และนักเต้นเปลือยกาย

 

ฤดูหนาว

ใครที่อยากหลีกเลี่ยงความหนาแน่น และสามารถมองเห็นนกกระเรียนคอดำ ฤดูหนาวเป็นช่วงที่เหมาะที่สุดค่ะ จะได้สัมผัสกับท้องฟ้าสีครามของเทือกเขาหิมาลัยโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม การท่องเที่ยวที่ภูฏาน

ในช่วงเดือนธันวาคม อุณหภูมิจะไม่หนาวจนเกินไปเหมือนกับอุณหภูมิต่ำสุดที่เกิดขึ้นตอนสิ้นเดือนมกราคม ในเดือนมกราคมหรือเดือนกุมภาพันธ์ เมืองพาโรและเมืองทิมพูอาจประสบกับหิมะตก 1 วัน

ธันวาคม-กุมภาพันธ์ :

– พูนาคา ดรอมเช (Punakha Dromche) และเซชู (Tshechu) ในเดือนกุมภาพันธ์

เทศกาลพูนาคา ดรอมเชและเซชู เป็นการเฉลิมฉลองนานนับสัปดาห์ของการก่อตั้งภูฏานในปี 1600 การเฉลิมฉลองจัดขึ้นรอบสถานที่โบราณ และซองที่สวยที่สุดในภูฏาน สภาพอากาศที่อบอุ่นของพูนาคาตอนล่างยังทำให้เมืองนี้เป็นสถานที่หลบหน้าหนาวสำหรับชาวภูฏานอีกด้วย

– เทศกาลตองซา (Trongsa Tshechu)

เทศกาลตองซาจัดขึ้นที่ซองตองซา เป็นการจัดงานขนาดเล็ก มีนักท่องเที่ยวร่วมงานไม่มากค่ะ เทศกาลนี้มีการแต่งกายประจำถิ่นที่ประณีตมากที่สุดสำหรับการเต้นลามะ น่าสนใจทีเดียว

travel guide bhutan 5

 

5 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในภูฏาน

1) วัดรังมังกร
travel guide bhutan 6

วัดรังมังกร (Tiger’s Nest Monastery) ตั้งอยู่บนหน้าผา เหนือป่าสนสีฟ้าที่สวยงามและพุ่มไม้นานาพันธุ์ ด้วยความสวยงามของสภาพแวดล้อมและวัดทำให้มันเป็นแรงจูงใจในการเดินไต่เขาขึ้นไป (900 เมตร) นักท่องเที่ยวสามารถขี่ม้าขนาดเล็ก แต่จะขึ้นไปถึงแค่ส่วนของโรงอาหาร จากนั้นต้องเดินไต่เขาและผ่านบันไดแคบ ๆ ด้านหน้าตัววัด เส้นทางที่ข้ามตัวโบสถ์ลงไปจะเป็น

น้ำตกที่ออกมาจากถ้ำเสือหิมะ (Snow Lion Cave) วิวทิวทัศน์ของหุบเขาพาโรเมื่อมองจากที่นี่สวยงามยิ่งนัก แวดล้อมด้วยบรรยากาศแห่งความศักดิ์สิทธิ์ วัดนี้เป็นสถานที่ที่ชาวพุทธทุกคนต้องมาให้ได้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต วัดรังมังกรเป็นสถานที่ที่ กูรู รินโปเช (Guru Rinpoche) นำศาสนาพุทธเข้ามายังประเทศภูฏาน ผู้ซึ่งมาถึงด้วยการขี่หลังเสือ

 

2) พูนาคาซอง
travel guide bhutan 7

พูนาคาซอง (Punakha Dzong) เป็นสถานที่เก่าแก่อันดับ 2 และเป็นซองที่ใหญ่อันดับ 2 ของประเทศภูฏาน หรือบางครั้งเรียกว่า Pungthang Dewachen Phodrang (พระราชวังแห่งความสุข) เป็นสถานที่ที่งดงามและยิ่งใหญ่ที่สุด เมืองพูนาคาใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์จากทางตะวันออกของเมืองทิมพู 3 ชั่วโมง หลังจากข้ามผ่านภูเขา สถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยความงดงามมากและโดดเด่นเป็นสง่า ตั้งอยู่ในพื้นที่เชิงกลยุทธ์ระหว่าง 2 แม่น้ำ ได้แก่ แม่น้ำโพ (Pho Chu) และแม่น้ำโม (Mo Chu) ซึ่งสังเกตุได้จากสีของแม่น้ำที่แตกต่างกัน พูนาคาซองเชื่อมต่อกับแผ่นดินด้วยสะพานไม้โค้งและมีพระธาตุที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ช่วงสมัยที่พระราชาทำการครองอาณาจักรสืบต่อกันมาในหุบเขานี้ พูนาคาซองแวดล้อมด้วยสภาพอากาศที่สวยงาม และในช่วงฤดูใบไม้ผลิต้นศรีตรังจะออกดอก สร้างงดงามให้บรรยากาศรอบซองแห่งนี้

 

3) เส้นทางปีนเขาที่ซูริซอง (Zuri Dzong)
travel guide bhutan 8

ยอดของซูริซอง น่าจะเป็นจุดเยี่ยมที่สุดในการชมทิวทัศน์ทั้งหมดของหุบเขาพาโร ซูริซองเป็นซองที่เก่าแก่ที่สุดของภูฏาน และภายในมีถ้ำที่พระพุทธเจ้าได้มาบำเพ็ญตนในช่วงศตวรรษที่ 8 สถานที่แสนสงบนี้ทำให้ชาวพุทธและนักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับความศรัทธาที่แวดล้อมด้วยวิวทิวทัศน์อันยอดเยี่ยม คุณจะได้พบกับความอัศจรรย์และความน่าเกรงขามของสถานที่แห่งนี้ ใช้เวลาทั้งหมดในการเดินทางมาที่ซูริซองโดยประมาณ 30 นาที หากเริ่มจากพิพิธภัณฑ์หอสังเกตการณ์และเพิ่มไปอีก 1 ชั่วโมงเพื่อไปยังอูม่า (Uma) นักท่องเที่ยวสามารถนั่งพักที่นี่และอย่าลืมชื่นชมทัศนียภาพข้างทางในระหว่างการเดินป่าของคุณ

 

4) โรงแรมอูม่า ปาโร (Uma Paro)
travel guide bhutan 9

ใช้เวลาเดินทางจากสนามบินพาโรไปยังโรงแรมเพียงแค่ 10 นาที โรงแรมอูม่า พาโร (Uma Paro) ตั้งอยู่บนภูเขาหิมาลัย ขนาบข้างด้วยป่าสนหนาแน่น มอบทิวทัศน์ที่ครอบคลุมเขตพาโรทั้งหมด หนึ่งในโรงแรมบูติคที่ห่างไกลของอาณาจักร ภายในตกต่างอย่างสวยงาม พร้อมบริการอาหารเลิศรส การนวดสปาโคโมแชมบาลา (Como Shambhala) และสระว่ายน้ำที่มีทิวทัศน์อันทรงเสน่ห์ คุณจะได้เพลิดเพลินกับการชื่นชมความงามของเทือกเขาหิมาลัย ห้องพักจะแตกต่างตามวิวรอบนอกและความชอบของแต่ละบุคคล ได้แก่

• ห้องพักวิวป่าไม้ สามารถมองเห็นป่าสนทั่วทั้งบริเวณ

• ห้องพักวิวหุบเขา นำเสนอวิวแบบพาโรนาม่าของหุบเขาพาโร

• ห้องสูทคอสโม มอบมุมมอง 180 องศา ของหุบเขาพาโรจากห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหารและพื้นที่อ่านหนังสือ

• วิลล่าเตียงเดี่ยว มีพื้นที่ที่กว้างขวาง พร้อมพื้นที่นั่งเล่น เตาอบแบบ บุคารีดั้งเดิม เช่นเดียวกับบริเวณสปาส่วนตัว (ทั้ง 2 วิลล่า มีพนักงานบริการส่วนตัว)

• วิลล่าห้องเตียงคู่ มาพร้อมกับอ่างอาบหินน้ำร้อน ห้องนั่งเล่นที่มีมุมมองแบบพาโรนาม่าของหุบเขาพาโร พื้นที่สปาส่วนตัว และสวนเปิดโล่งพร้อมแคมป์ไฟ (ทั้ง 2 วิลล่า มีพนักงานบริการส่วนตัว)

 

5) หุบเขากังเตย์ (Gangtey) ในฤดูหนาว
travel guide bhutan 10

หุบเขากังเตย์คือหนึ่งในหุบเขาที่น่าทึ่งที่สุดของเทือกเขาหิมาลัย หลายคนมักเรียกว่า ดินแดนสวรรค์แห่งภูฏาน ในฐานะที่ภูฏานเป็น “หนึ่งในประเทศที่มีความสุขมากที่สุดของโลก” และ “ดินแดนสวรรค์สุดท้ายบนโลก” บริเวณนี้มีพื้นที่กว้างขวางมาก เป็นหุบเขาราบที่ไม่มีต้นไม้ หลังจากไต่ขึ้นมาอย่างยากลำบากผ่านป่าหนาทึบ สถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยความประทับใจของพื้นที่ขนาดใหญ่ นับเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากในประเทศภูฏาน เพราะหุบเขาส่วนมากมักจะมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น การเดินป่าสามารถแวะเยี่ยมหมู่บ้านโกโกนา (Gogona) และโคโตกา (Khotokha) ผ่านทุ่งหญ้าและสนาม คุณจะได้พบกับป่าสน ดอกแม็กโนเลียและต้นศรีตัง ซึ่งจะบานสะพรั่งในเดือนเมษายนนอกจากความสวยงามของหุบเขาและเส้นทางเดินป่าจะเต็มไปด้วยความสวยงามของต้นศรีตังและดอกแมคโนเลีย รวมถึงต้นเฟิร์นและต้นไผ่แคระ เรายังสามารถเข้าชมวัดกังเตย์และศูนย์ข้อมูลนกกระเรียนดำ โดยเฉพาะผู้ที่เข้าชมวัดกังเตย์ระหว่างฤดูหนาวจะสามารถรับชมความงดงามของนก

บทความอื่นๆ