ประเทศพม่า

เอกราช พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429 และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ติดต่อกับพวกตะขิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาหนุ่มที่มีหัวรุนแรง มีออง ซาน นักชาตินิยม และเป็นผู้นำของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นหัวหน้า พวกตะขิ้นเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้ว กลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช และได้ส่งอองซานและพวกตะขิ่นประมาณ 30 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อรับคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ

 

…..เมื่อคณะของอองซานได้เดินทางกลับพม่าใน พ.ศ. 2485 อองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง ชื่อ พรรค AFPFL เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว อองซานและพรรค AFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา แต่อองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายามสนันสนุนพรรคการเมืองอื่น ๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีอองซานเป็นหัวหน้า อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL อองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะที่เดินออกจากที่ประชุมสภา ต่อมาตะขิ้นนุหรืออูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์

 

…..ภายหลังจากพม่าได้รับเอกราชแล้วการเมืองภายในประเทศก็มีการสับสนอยู่ตลอดเวลา นายกรัฐมนตรี คือ นายอูนุถูกบีบให้ลาออก เมื่อพ.ศ. 2501 ผู้นำพม่าคนต่อมาคือนายพลเน วิน ซึ่งได้ทำการปราบจลาจลและพวกนิยมซ้ายจัดอย่างเด็ดขาด เขาได้จัดไห้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศใน พ.ศ. 2503 ทำให้นายอูนุได้กลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะได้รับเสียงข้างมากในสภา

 

…..ประเทศพม่า หรือ เมียนมาร์ (Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of Myanma) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาวและไทย สำหรับนักท่องเที่ยวหรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการเดินทางไปเยือน พม่าควรมีการ เตรียมตัวก่อนการเดินทาง ดังต่อไปนี้ เกร็ดน่ารู้ ก่อนไป เที่ยวพม่า

 

เกร็ดน่ารู้ ก่อนไป เที่ยวพม่า

myanmar_guide_2

 

การเตรียมพร้อมด้านร่างกาย แนะนำว่าควรตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้ครบถ้วน รวมถึงเตรียมยาประจำตัวมาให้เพียงพอ เพราะการสาธารณสุขของเมียนมาร์ยังไม่ทันสมัย

การเตรียมพร้อมด้านการเงิน ระบบการเงินระหว่างประเทศของเมียนมาร์ต้องผ่านระบบธนาคารของรัฐเท่านั้น และตู้เบิกเงินอัตโนมัติมีไม่แพร่หลาย อีกทั้งยังไม่รองรับการถอดเงินจากบัญชีในต่างประเทศ รวมถึงไม่มีการโอนเงินระหว่างประเทศ ดังนั้นจึงควรแลกเงินดอลลาร์สหรัฐมาให้เพียงพอ

 

myanmar_guide_3

 

เนื่องจากโรงแรม และร้านค้าในเมียนมาร์ส่วนใหญ่จะไม่รับบัตรเครดิตหรือ Traveler’s Cheque สภาพของธนบัตรที่นำมาจะต้องอยู่ในสภาพใหม่ ไม่ยับ ไม่มีรอยขีดข่วน หรือเลอะสี และควรเป็นธนบัตรรุ่นใหม่ ทั้งนี้ ธนบัตร 100 ดอลลาร์สหรัฐที่หมายเลขขึ้นต้นด้วย CB โรงแรมและร้านค้าในเมียนมาร์อาจปฏิเสธที่จะไม่รับ

 

myanmar_guide_4

 

การตรวจลงตราและหนังสือเดินทาง : ผู้ที่จะเดินทางเข้าเมียนมาร์ต้องมีหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ และตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวหรือประเภทนักธุรกิจก็ได้ ทั้งนี้ สามารถขอรับการตรวจลงตราได้จากสถานทูตเมียนมาร์ประจำประเทศไทย

โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภท คือ

1. Tourist Visa หรือการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว มีอายุ 28 วัน
2. Business Visa หรือการตรวจลงตราประเภทธุรกิจอยู่ในเมียนมาร์ได้นาน 10 สัปดาห์ ผู้ที่ทำธุรกิจอยู่ในเมียนมาร์สามารถขอรับการตรวจลงตราแบบเข้า-ออกประเทศได้ หลายครั้ง
3. Entry Visa (สำหรับเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ และแขกของหน่วยงาน/รัฐบาลเมียนมาร์) จะอยู่ในเมียนมาร์ได้ 4 สัปดาห์

ทั้งนี้ รัฐบาลเมียนมาร์ได้เปิดบริการ Visa on Arrival สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทาง 26 ชาติ รวมทั้งประเทศไทย โดยให้บริการเฉพาะการตรวจลงตราประเภท (1) Transit Visa (2) Business Visa (3) Entry Visa ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.mip.gov.mm อนึ่ง ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางเข้าเมียนมาร์เพื่อการท่องเที่ยว ยังจำเป็นต้องขอรับการตรวจลงตราที่สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาร์ตามปรกติ

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะอยู่ในเมียนมาร์เกิน 4 สัปดาห์ จะต้องขอรับการตรวจลงตราสำหรับพำนักอยู่ในเมียนมาร์เป็นเวลานาน เรียกว่า Stay Permit อาจมีอายุใช้งานถึงหนึ่งปี และขอต่ออายุออกไปได้อีก การตรวจลงตราแบบเข้า-ออกประเทศได้หลายครั้งในช่วงหนึ่งปีนี้ก็มีเช่นกัน ท่านจะต้องยื่นเรื่องขอ Stay Permit จากกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองของเมียนมาร์ก่อน ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในเมียนมาร์เกินกว่า 4 สัปดาห์จะต้องยื่น Departure Form (D Form) ต่อทางการเมียนมาร์ ก่อนที่จะเดินทางออกนอกประเทศ

* หมายเหตุ เด็กที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป จะต้องขอรับการตรวจลงตรา

ระบบไฟฟ้า และการสื่อสาร : ระบบโทรศัพท์ในเมียนมาร์ยังไม่เสถียรมากนัก การใช้งานระบบโรมมิ่งของโทรศัพท์มือถือจากประเทศไทยยังไม่สามารถใช้ได้กับ ทุกเครือข่ายและจำกัดอยู่ในบางพื้นที่เท่านั้น ท่านที่ประสงค์จะใช้โทรศัพท์มือถือใน เมียนมาร์ควรซื้อซิมการ์ดท้องถิ่น (ราคาประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐ)

ระบบไฟฟ้าในเมียนมาณ์ยังไม่เสถียรมากนัก ไฟฟ้าดับบ่อยครั้งระหว่างวัน อย่างไรก็ตาม โรงแรมชั้นนำทั่วไปในกรุงย่างกุ้งและเมืองใหญ่ต่าง ๆ มักจะมีเครื่องปั่นไฟสำรองไว้ใช้ในกรณีกระแสไฟฟ้ามีไม่เพียงพอ

 

myanmar_guide_5

 

การเข้าพำนักในเคหสถานของชาวเมียนมาร์

ระเบียบราชการกำหนดว่า ชาวต่างชาติจะต้องไปลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานีตำรวจในท้องที่ที่ตนเดินทางเข้าไปพัก โดยปกติถ้าเข้าพักตามโรงแรม โรงแรมจะเป็นธุระจัดการเรื่องนี้ให้เอง แต่ถ้าไปขอค้างคืนตามวัดหรือบ้านคน จะต้องไปลงทะเบียนกับตำรวจด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทั้งกับตัวท่าน และผู้ให้ที่พักพิงกับท่านในภายหลัง

หากท่านจะอยู่อาศัยในประเทศเมียนมาร์เป็นระยะเวลานาน โปรดแจ้งชื่อ และที่อยู่ต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อหรือให้ความช่วยเหลือในกรณีจำเป็น โดยสามารถลงทะเบียนกับแผนกกงสุลของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ด้วยตนเองหรือแจ้งผ่านอีเมล์ thaiembassyygn@gmail.com

 

myanmar_guide_6

 

การเดินทางสัญจรภายในประเทศเมียนมาร์

การเดินทางระหว่างเมืองในเมียนมาร์ หากเป็นเมืองที่ไม่ไกลจากกรุงย่างกุ้ง สามารถเดินทางโดยทางรถได้ แต่สภาพรถ ทั้งรถประจำทาง และรถแท็กซี่ หรือรถตู้รับจ้าง โดยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพเก่า และคนขับรถส่วนมากไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้

การใช้บริการแท็กซี่ มีอย่างแพร่หลายในกรุงย่างกุ้งและเมืองใหญ่ต่าง ๆ แต่ผู้โดยสารควรต่อรองราคาก่อน เนื่องจากรถแท็กซี่ทั่วไปจะไม่มีมิเตอร์ อีกทั้งสภาพถนนระหว่างเมืองต่างๆ ก็มีสภาพไม่ดีเป็นหลุม เป็นบ่อ โดยเฉพาะหน้าฝน เมียนมาร์มีรถไฟเชื่อมระหว่างจังหวัด ที่สำคัญทั่วประเทศ ราคาถูก แต่ไม่สะดวกและใช้เวลาเดินทางนานมาก การเดินทางโดยสายการบินท้องถิ่นจึงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว

สำหรับการบินภายในประเทศจะสะดวกที่สุด แต่ตารางการบินอาจไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงเวลาทำการบินอย่างกะทันหันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยปกติ ผู้โดยสารควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นผิดเที่ยวบิน เนื่องจากทุกเที่ยวบินภายในประเทศใช้ประตู (gate) เดียวกัน ในช่วงฤดูฝน หรือฤดูมรสุม อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเที่ยวบินบ่อยครั้งเนื่องจากระบบสนามบินใน ต่างจังหวัดไม่มีระบบนำร่องโดยเฉพาะในภาคใต้ของเมียนมาร์ แต่สภาพของเครื่องบินและการบริการภายในเครื่องบินอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

ข้อควรระวังในการพำนักอยู่ในเมียนมาร์
1) ไม่ควรพูดคุยเรื่องทางการเมืองของเมียนมาร์กับบุคคลทั่วไปที่ไม่รู้จักมักคุ้น
2) ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น หรือกางเกงขาสั้นในสถานที่สาธารณะ และในสถานที่สำคัญทางศาสนา
3) ไม่ควรถ่ายรูปในบริเวณสนามบิน สถานีรถไฟ และสถานที่ราชการก่อนได้รับอนุญาต เมื่อจะถ่ายรูปชาวเมียนมาร์ก็ควรขออนุญาตเช่นกัน
4) ควรมีความสำรวมในวัดและศาสนสถาน ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น 5) ระมัดระวังการพูดเชิงลบเกี่ยวกับประเทศหรือชาวเมียนมาร์ในที่สาธารณะ เพราะมีชาวเมียนมาร์จำนวนมากที่เข้าใจภาษาไทยได้ดี
6) เมียนมาร์ได้เปลี่ยนชื่อประเทศแล้ว จึงไม่ควรใช้ชื่อเดิม (Burma) กับชาวเมียนมาร์
7) ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพควรจัดเตรียมยาประจำตัวมาด้วย
8) ควรระมัดระวังเลือกรับประทานอาหารและน้ำดื่มจากร้านที่สะอาดถูกสุขอนามัย โดยเฉพาะน้ำดื่ม ควรดื่มน้ำที่บรรจุในขวดปิดผนึกเรียบร้อย
9) ทางการเมียนมาร์อาจห้ามชาวต่างชาติเดินทางไปยังบางเมืองหรือบางพื้นที่ หากประสงค์ที่จะเดินทางไปเมืองที่ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวของเมียนมาร์ ควรตรวจสอบข้อมูลก่อน

บทความอื่นๆ